วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผ้าไหมไทย

ภาษาไทย | English
ตามที่ทราบกัน เส้นไหมได้มาจากดักแด้ของหนอนชนิดหนึ่ง ชื่อ Bombyx mori (ตัวไหม หรือ silkworm) ที่กินใบหม่อนเป็นจำนวนมากๆ ก่อนที่จะกลายร่างเป็นดักแด้ต่อไป

ทำไมผ้าไหมไทยจึงเป็นที่นิยม?

ผ้าไหมโดยทั่วไปจะนุ่ม เรียบลื่น เบา ไม่มีน้ำหนัก ใส่แล้วไม่ร้อน แต่ผ้าไหมไทยมีคุณสมบัติแตกต่างออกไป เนื้อผ้ามีลักษณะเป็นมันเงา ไม่เรียบ แต่ฟูนุ่มเป็นธรรมชาติ และมีน้ำหนัก ทั้งยังทอเป็นลวดลายแบบไทยๆอย่างประณีต ในหลากหลายรูปแบบ ดังนั้น ผ้าไทยจึงเป็นที่นิยม และต้องการกันมากในตลาดโลก





ทราบได้อย่างไร ว่าเป็นไหมไทยแท้?

จากการเป็นที่นิยม ทำให้มีผู้ผลิตผลิตผ้าไหมจากไหมต่างประเทศ แต่จำหน่ายโดยใช้ชื่อผ้าไหมไทย ทำให้คุณภาพไหมไทยตกต่ำ ไม่ได้มาตรฐาน จากปัญหานี้ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ทรงพระราชทานตราสัญลักษณ์ "นกยูง" ให้แก่กระทรวงเกษตรฯ เพื่อใช้จำแนกไหมไทยแท้





การรับรองคุณภาพไหมไทย

ตราสัญลักษณ์"นกยูง" ใช้ในการรับรองคุณภาพไหมไทย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 
  1. นกยูงสีทอง (Royal Thai Silk)    ผ้าไหมไทยทอมือแบบดั้งเดิม วัสดุและขั้นตอนการผลิตมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เส้นไหมผลิตจากตัวไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้าน
  2. นกยูงสีเงิน (Classic Thai Silk)    ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่มีเครื่องมือเข้ามาช่วยในกระบวนการ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า เส้นไหมผลิตจากตัวไหมไทยที่ปรับปรุงพันธุ์ 
  3. Blue peacock  (Thai Silk)     ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เส้นไหมย้อมด้วยสีธรรมชาติหรือ สีเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
  4. Green peacock (Thai Silk Blend)    ไหมไทยผสมกับเส้นไหมหรือเส้นใยชนิดอื่น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยส่วนผสมจะต้องระบุให้ชัดเจน

ร้านไหมไทยแห่งแรก

ในปัจจุบัน มีร้านค้าผลิตภัณฑ์ไหมไทยที่มีคุณภาพอยู่ทั่วไป โดยร้านไหมไทยแห่งแรก คือ ร้าน "จิมทอมป์สัน" (Jim Thompson) ก่อตั้งขึ้นในปี 2491 โดยคุณ เจมส์ แฮริสัน วิลสัน ทอมป์สัน ชาวอเมริกัน ผู้บุกเบิกการค้าผ้าไหมไทย
พิพิธภัณฑ์บ้านจิมทอมป์สัน

ปัจจุบันบ้านจิมทอมป์สันเป็นพิพิธภัณฑ์ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 9.00 - 17.00 น.

ที่อยู่พิพิธภัณฑ์บ้านจิมทอมป์สัน


พิพิธภัณฑ์บ้านจิมทอมป์สัน
6 ซอยเกษมสันต์ 2 ถนนรามา 1  กรุงเทพฯ ประเทศไทย
โทร. (662) 216-7368 แฟกซ์ (662) 612-3744

พิพิธภัณฑ์บ้านจิมทอมป์สันอยู่ในซอยเกษมสันต์ 2 ตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติ



Reference site : Jim Thompson HouseWikipedia : Thai silk (Thai, English), Jim Thompson
Image : Wikipedia : Thai silk, Jim Thompson

1 ความคิดเห็น: